อาเซียน

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกประชาคมอาเซียน โดยนักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ธงชาติ อาเซียน


ธงชาติอาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ธงชาติลาว

ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
  • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
  • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง

ธงชาติบรูไน

"บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
  • พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
  • สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน

ธงชาติเมียรม่าร์

มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย
  • สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
  • สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
  • ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

ธงชาติกัมพูชา

มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
  • พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
  • พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

ธงชาติเวียตนาม

ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ธงชาติสิงคโปร์

เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่
  • สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
  • รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ธงชาติมาเลเซีย

หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง" ("Jalur Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
  • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
  • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

ธงชาติฟิลิปปินส์

มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ
  • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
  • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
  • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
  • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

ธงชาติอินโดนีเซีย

รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ธงชาติไทย

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ
  • ชาติ (สีแดง)
  • ศาสนา (สีขาว)
  • พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์

ด.ญ.กัญญาวี กุลนิล

คำทักทาย อาเซียน



ปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังพยายามเตรียมความพร้อมคนไทย เด็กไทย มากน้อยแค่ไหน เพื่อรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไว้เรามาคุยกันคราวหน้า แต่วันนี้เรามาเริ่มต้นกันที่คำทักทายก่อน สำหรับคนไทยก็ต้อง “สวัสดี ” ส่วนเพื่อน ๆ สมาชิกอีก 9 ประเทศเขาก็มีคำทักทายของเขา ลองฝึกซ้อมไว้ เผื่อใครมีโอกาสได้ไปเยือนเพื่อนบ้านอาเซียน หรือ มีโอกาสได้ต้อนรับเพื่อน ๆ จากอาเซียน จะได้เอาไว้พูดให้เขาประทับใจ
ด.ญ.สิริกร   บริสุทธิ์

  

ชุดประจำชาติอาเซียน


1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของ ผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว





2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม
อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวม ทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของ ประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ


3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า
ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ




4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุด ประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย


5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว
ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเต ลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด



7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวม เสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)



8. ชุดประจำชาติของประเทศไทย
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการ ของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1.               ชุดไทยเรือนต้น
2.               ชุดไทยจิตรลดา
3.               ชุดไทยอมรินทร์
4.               ชุดไทยบรมพิมาน
5.               ชุดไทยจักรี
6.               ชุดไทยจักรพรรดิ
7.               ชุดไทยดุสิต
8.               ชุดไทยศิวาลัย



9. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง

10. ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของ ตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลักๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
ด.ญ.สิรินยากรณ์   ชินวัฒน์

อาหารประจำชาติอาเซียน


บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

 
อัมบูยัต (Ambuyat) จัด เป็นอาหารประจำชาติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีลักษณะคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก โดยทั่วไปอัมบูยัต คือ อาหารที่รับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่าง วางอยู่โดยรอบ

อินโดนีเซีย (Indonesia)



กาโด กาโด (Gado Gado) เป็น หนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ
ลาว (Loas)

 
ซุบไก่ (Chicken Soup) เป็น หนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง 
มาเลเซีย (Malaysia)

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็น หนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาซิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิม จะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า 
เวียดนาม (Vietnam)



Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่าง ๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม
ฟิลิปปินส์ (Philippines)

 
อโดโบ้ (Adobo) เป็น หนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์และเป็นที่นิยมของนัก เดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไป ทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว 
สิงคโปร์ (Singapore) 


ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตีของอิตาลี
ไทย (Thailand)

 
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) เป็น อาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา 
พม่า (Myanmar)


หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็น อาหารประจำชาติของพม่าที่มีลักษณะคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย โดยรับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น 
 ด.ช.ธนวุฒ ทองหอม

ดอกไม้อาเซียน

                                 

                 Simpor is the national flower of Brunei.

ดอก Simpor (Dillenia suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานออกคล้ายกับร่ม รูปดอก Simpor พบได้ในธนบัตรราคา 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านศิลปะการออกแบบงานฝีมือพื้นเมือง ดอก Simpor พบทั่วไปตามแม่น้ำของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม โดยเฉพาะแม่น้ำ Tem-burong และยังพบตามบึง หรือบริเวณที่มีทรายสีขาว ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ชนิดนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในการรักษาบาดแผล


Rumdul is the national flower of Cambodia.
ดอก Rumdul หรือ ดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมในเวลาค่ำ เนื่องจากกลิ่นหอมนี้เองทำให้ในอดีตมักเปรียบดอกลำดวนกับผู้หญิงเขมร ต้นลำดวนมีความสูง 8-12 เมตร พบได้ทั่วไปในประเทศกัมพูชา และนิยมปลูกในสวนสาธารณะ 


Moon Orchid is the national flower of Indonesia.
ดอก Moon Orchid หรือ กล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ Phalaenopsis amabilis ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย โดยดอกไม้ประจำชาติที่เหลือ คือ ดอก Jasmin-num sambac และดอก Rafflesia arnoldii ดอก Moon Orchid เป็นหนึ่งในบรรดาดอกกล้วยไม้ที่บานนานที่สุด โดยช่อดอกสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง 2-6 เดือน โดยปกติดอก Moon Orchid จะบาน 2-3 ครั้งต่อปี ก่อนจะโตเต็มที่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงมักพบทั่วไปในที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซี



 Champa is the national flower of Laos.
ดอก Champa หรือ ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว มีกลิ่นหอม และมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ ดอก Champa เป็นตัวแทนของความจริงใจ และความสุขในชีวิต จึงนิยมใช้ประดับในพิธีต่างๆ หรือทำเป็นพวงมาลัยเพื่อต้อนรับแขก ดอก Champa บานทุกวัน และอยู่ได้นาน จึงมักปลูกอย่างแพร่หลาย และเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในบริเวณวัด



  
Bunga raya is the national flower of Malaysia
ดอก Bunga raya หรือ ดอกพู่ระหง เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย กลีบดอก 5 กลีบของดอก Bunga raya เป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ ดอก Bunga raya พบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย และบางส่วนของต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และความงามได้อีกด้วย 


Paduak is the national flower of Myanmar.
ดอก Paduak หรือ ดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทองและส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่ของประเทศพม่า เมื่อผลิดอก ต้นของดอก Paduak จะเป็นสีทองตลอดทั้งคืน ชาวพม่าจึงถือว่าต้น Paduak เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง และความทนทาน ดอกไม้ชนิดนี้ยังหมายถึงวัยหนุ่มสาว และความรัก ดอก Paduak เป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในงานประเพณีและพิธีทางศาสนา จึงพบมากในประเทศพม่า นอกจากนี้ ลำต้นยังสมารถนำไปทำเครื่องเรือนได้อีกด้วย



Sampaguita Jasmine is the national flower of 
the Philippines.

 
ดอก Sampaguita Jasmine หรือดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 1934 ดอก Sampaguita มี กลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดทั้งปี โดยจะแย้มดอกในตอนกลางคืนและส่งกลิ่นหอมประมาณหนึ่งวัน สำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเข้มแข็ง การผลิบานของดอก Sampaguita ถูกนำมาเฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่าและบทเพลงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีความเชื่อว่าดอกไม้ชนิดนี้มีที่มาจากแถบ Himalaya ในศตวรรษที่ 17


Vanda Miss Joaquim is the national flower of Singapore.
 
ดอก Vanda Miss Joaquim เป็น ดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมาที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ ด้วยสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม อีกทั้งบานตลอดปี ทำให้ดอกไม้ชนิดนี้ถูกยกสถานะให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1981 Vanda Miss Joaquim พบได้ทั่วไปในประเทศสิงคโปร์ 


  
Ratchaphreuk is the national flower of Thailand.
 
ต้น Ratchaphruek หรือ ต้นราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีปรองดองของคนไทย ดอกราชพฤกษ์จะเริ่มบานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ขณะผลิบานต้นจะทิ้งใบเหลือเพียงดอกสีเหลืองอร่าม ดอกราชพฤกษ์เป็นที่รู้จักทั่วไปในประเทศไทย และปลูกอย่างแพร่หลายตามแนวถนน 


 Lotus is the national flower of Vietnam.
ดอก Lotus หรือ ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็น 1 ใน 4 ของพันธุ์ไม้ที่มีความสง่างาม ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นสน ต้นไผ่ และต้นเบญจมาศ ดอกบัวเป็นที่รู้จักในนาม ดอกไม้แห่ง รุ่งอรุณพบ ได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำของประเทศเวียดนาม สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ความสง่างามของดอกบัวมักถูกกล่าวถึงในบทกลอน และเพลงพื้นเมืองของประเทศเวียดนาม
ด.ช.เอเทน เกียรติวิทยาสกุล